Monday 28 March 2016

Chemistry 23

พอลิเมอร์
พอ ลิเมอร์ (Polymer) คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ ของสารที่อาจจะเหมือนกันหรือต่างกันมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโควาเลนต์ 
มอนอเมอร์ (Monomer) คือ หน่วยเล็ก ๆ ของสารในพอลิเมอร์ ดังภาพ 

ประเภทของพอลิเมอร์ แบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้ 
1. แบ่งตามการเกิดเป็นเกณฑ์ เป็น 2 ชนิด คือ
ก . พอลิเมอร์ธรรมชาติ เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น โปรตีน แป้ง เซลลูโลส ไกโคเจน กรดนิวคลีอิก และยางธรรมชาติ (พอลีไอโซปรีน)
ข . พอลิเมอร์สังเคราะห์
 เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากการสังเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น พลาสติก ไนลอน ดาครอน และลูไซต์ เป็นต้น 


2. แบ่งตามชนิดของมอนอเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบ เป็น 2 ชนิด คือ
ก . โฮมอลิเมอร์ (Homopolymer) เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ชนิดเดียวกัน เช่น แป้ง(ประกอบด้วยมอนอเมอร์ที่เป็นกลูโคสทั้งหมด) พอลิเอทิลีน PVC (ประกอบด้วยมอนอเมอร์ที่เป็นเอทิลีนทั้งหมด) 
ข . เฮเทอโรพอลิเมอร์ (Heteropolymer) เป็นพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ต่างชนิดกัน เช่น โปรตีน (ประกอบด้วยมอนอเมอร์ที่เป็นกรดอะมิโนต่างชนิดกัน) พอลิเอสเทอร์ พอลิเอไมด์ เป็นต้น 
3. แบ่งตามโครงสร้างของพอลิเมอร์ แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
ก. พอลิเมอร์แบบเส้น (Chain length polymer) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์สร้างพันธะต่อกันเป็นสายยาว โซ่พอลิเมอร์เรียงชิดกันมากว่าโครงสร้างแบบอื่น ๆ จึงมีความหนาแน่น และจุดหลอมเหลวสูง มีลักษณะแข็ง ขุ่นเหนียวกว่าโครงสร้างอื่นๆ ตัวอย่าง PVC พอลิสไตรีน พอลิเอทิลีน ดังภาพ
ข. พอลิเมอร์แบบกิ่ง (Branched polymer) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ยึดกันแตกกิ่งก้านสาขา มีทั้งโซ่สั้นและโซ่ยาว กิ่งที่แตกจาก พอลิเมอร์ของโซ่หลัก ทำให้ไม่สามารถจัดเรียงโซ่พอลิเมอร์ให้ชิดกันได้มาก จึงมีความหนาแน่นและจุดหลอมเหลวต่ำยืดหยุ่นได้ ความเหนียวต่ำ โครงสร้างเปลี่ยนรูปได้ง่ายเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ตัวอย่าง พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ ดังภาพ 
ค. พอลิเมอร์แบบร่างแห (Croos -linking polymer) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ต่อเชื่อมกันเป็นร่างแห พอลิเมอร์ชนิดนี้มีความแข็งแกร่ง และเปราะหักง่าย ตัวอย่างเบกาไลต์ เมลามีนใช้ทำถ้วยชาม ดังภาพ 
หมายเหตุ พอลิเมอร์บางชนิดเป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากสารอนินทรีย์ เช่น ฟอสฟาซีน ซิลิโคน

การเกิดพอลิเมอร์
พอลิเมอร์เกิดขึ้นจากการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันของมอนอเมอร์
พอลิเมอร์ไรเซชัน (Polymerization) 
คือ กระบวนการเกิดสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ( พอลิเมอร์) จากสารที่มีโมเลกุลเล็ก ( มอนอเมอร์) 
 ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชัน
1. ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันแบบเติม (Addition polymerization reaction) คือปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันที่เกิดจากมอนอเมอร์ของสารอินทรีย์ชนิดเดียวกันที่มี C กับ C จับกันด้วยพันธะคู่มารวมตัวกันเกิดสารพอลิเมอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้น ดังภาพ 
2. ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันแบบควบแน่น (Condensation polymerization reaction) คือปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันที่เกิดจากมอนอเมอร์ที่มีหมู่ฟังก์ชันมากกว่า 1 หมุ่ ทำปฏิกิริยากันเป็นพอลิเมอร์และสารโมเลกุลเล็ก เช่น น้ำ ก๊าซแอมโมเนีย ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ เมทานอล เกิดขึ้นด้วย ดังภาพ 


Tuesday 2 February 2016

Chemistry 22

SUGAR
ทางวิทยาศาสตร์ น้ำตาลหมายถึงจำนวนคาร์โบไฮเดรต เช่น โมโนแซ็กคาไรด์ ไดแซ็กคาไรด์ หรือโอลิโกแซ็กคาไรด์โมโนแซ็กคาไรด์เรียกอีกอย่างว่า "น้ำตาลอย่างง่าย" ที่สำคัญที่สุดคือ กลูโคส น้ำตาลเกือบทุกชนิดมีสูตร CnH2nOn (n มีค่าระหว่าง 3 และ 7) กลูโคสมีสูตรเคมีว่า C6H12O6 ชื่อของน้ำตาลลงท้ายด้วยเสียง -โอส (ose) อย่างใน "กลูโคส" และ "ฟรุกโตส" บางครั้งคำเหล่านี้อาจหมายถึงชนิดใด ๆ ของคาร์โบไฮเดรตที่ละลายได้ในน้ำโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์แบบอะไซคลิก (acyclic) จะบรรจุหมู่แอลดีไฮด์หรือหมู่คีโตน มีศูนย์กลางปฏิกิริยาเป็นพันธะคู่ระหว่างคาร์บอนและออกซิเจน แซ็กคาไรด์ทุกชนิดที่มีวงแหวนในโครงสร้างมากกว่าหนึ่งวงจากเป็นผลจากโมโนแซ็กคาไรด์สองชนิดหรือมากกว่ามาเชื่อมกันด้วยพันธะไกลโคซิดิกโดยสูญเสียน้ำหนึ่งโมเลกุลต่อหนึ่งพันธะ[29]
โมโนแซ็กคาไรด์ในรูปโซ่ปิดสามารถสร้างพันธะไกลโคซิดิกด้วยโมโนแซ็กคาไรด์ชนิดอื่น โดยสร้าง ไดแซ็กคาไรด์ (เช่น ซูโครส) และโพลีแซ็กคาไรด์ (เช่น แป้งเอนไซม์จะต้องละลายน้ำหรือแตกพันธะไกลโคซิดิกเหล่านี้ก่อนที่สารดังกล่าวจะถูกสันดาป(metabolized) หลังจากย่อยและดูดซึมสารอาหาร โมโนแซ็กคาไรด์จะอยู่ในเลือดและเนื้อเยื่อภายในจะมีกลูโคส ฟรุกโตส และกาแลกโตส เพนโทสและเฮกโซสจำนวนมากสามารถสร้างโครงสร้างวงแหวนได้ ในรูปแบบโซปิดนี้ ปฏิกิริยาหลายอย่างที่มักเกิดขึ้นต่อหมู่แอลดีไฮด์และคีโตนจะเกิดขึ้นมิได้ กลูโคสในสารละลายจะคงอยู่ในรูปวงแหวนที่สมดุลเคมี โดยมีโมเลกุลในรูปโซ่เปิดน้อยกว่า 0.1%

Friday 22 January 2016

Chemistry 21

แก็สโซฮอลคืออะไร...?
  แก๊สโซฮอลไม่ใช่ "แก๊ส" แต่เป็นน้ำมัน เพราะมีสถานะเป็นของเหลว แต่ที่เรียกว่า "แก๊สโซฮอล" เพราะเกิดจากการผสมคำในภาษาอังกฤษ ระหว่างคำว่า gasoline ที่แปลว่าน้ำมัน กับ Alcohol กลายเป็น gasohol ในอดีตประเทศไทยมีเพียงแต่การจำหน่ายน้ำมันเบนซินที่ได้จากกระบวนการกลั่นทางปิโตรเคมี 100% เท่านั้น
แอลกอฮอลมาจากไหน...?
  ในโลกของเรามีแอลกอฮอลแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ เอทิลแอลกอฮอล(ethyl alcohol) ซึ่งเป็นแอลกอฮอลที่ได้จากการหมักพืชผลทางการเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด แอลกอฮอลชนิดนี้กินได้ และเพื่อเป็นการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ จึงได้นำมาผลิตเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในน้ำมันรถยนตร์ และ เมทิลแอลกอฮอล(methyl alcohol) เป็นแอลกอฮอลที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการกลั่นทางปิโตรเคมี แอกอฮอลชนิดนี้เป็นอันตรายต่อเยื่อบุต่างๆของร่างกาย และที่สำคัญ "กินไม่ได้"...แต่กลับเป็นสิ่งที่หาชื้อได้ง่ายในท้องตลาดเพราะมีราคาถูกและนิยมนำมาใช้ทำเหล้าเถื่อน...
E10 E20 E85 & E100
  E10 คือน้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของน้ำมันเชื่อเพลิงอยู่ร้อยละ 90 และเอทิลแอลกอฮอลอีกร้อยละ10 หรือที่ใครๆเข้าใจกันในอัตราส่วน 9:1 ซึ่งในท้องตลาดปัจจุบันมีจำหน่ายทั้งค่าออกเทน 91 และ 95 โดยค่าออกเทน 91 เหมาะสำหรับรถยนตร์ใหม่ป้ายแดง และมีอายุการใช้งานไม่เกิน 5-6 ปี ส่วนรถยนตร์เก่าตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ควรใช้ระดับค่าออกเทน 95 เพื่อทดแทนกำลังส่วนที่ต้องสูยเสียไปโดยปริยายภายหลังการสันดาบ อันเนื่องมาจากเครื่องยนตร์ใช้งานมาเป็นเวลานาน ย่อมที่จะต้องมีการสึกหรอเป็นธรรมดา
  เช่นกันกับ E20 เป็นน้ำมันเบนซินที่มีอัตราส่วนของน้ำมันอยู่ร้อยละ 80 และเอทิลแอลกอฮอลอีกร้อยละ 20 หรือในอัตราส่วน 8:2...แต่เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมรถบางคันถึงเติม E20 ได้ ทำไมบางคันถึงเติมไม่ได้...? เพราะน้ำมันที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลหรือพลังงานทดแทนจากพืชที่มากจะไปมีผลต่อเครื่องยนตร์ ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีกัดกร่อนเครื่องยนตร์ ทำให้เครื่องยนตร์สึกหรอเร็ว หากใช้น้ำมันที่ไม่เหมาะสม หรือเครื่องยนตร์ไม่ได้ผลิตมาเพื่อรองรับโดยเฉพาะ ด้วยเหตุมาจากเครื่องยนตร์รถในปัจจุบัน ผลิตขึ้นจากอะลูมินัมเป็นส่วนประกอบ เพราะมีคุณสมบัติเด่นที่น้ำหนักเบา ทนความร้อนมากแต่เก็บความร้อนน้อย และการทำงานของเครื่องยนตร์ที่เรียบและเงียบ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เครื่องยนตร์สึกหรอเร็วกว่ากำหนด (ซึ่งในที่สุดรถทุกคันก็ต้องสึกหรออยู่ดี) จึงต้องผลิตเครื่องยนตร์ออกมารองรับเป็นพิเศษ
  E85 คือน้ำมันเบนซินที่มีอัตราส่วนของน้ำมันอยู่ 15% และเอทิลแอลกอฮอลอีก 85% แน่นอนว่าพลังงานทดแทนในสัดส่วนที่มาก ย่อมทำให้เครื่องยนตร์สึกหรอเร็วกว่าน้ำมันชนิดอื่นๆ และในประเทศไทยก็ยังไม่มีการผลิตน้ำมันชนิดนี้ออกมาจำหน่าย อีกทั้งรถยนตร์ค่ายญี่ปุ่นในไทยก็ยังไม่มีเครื่องยนตร์ E85 ออกมารองรับ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมรถนยตร์ค่ายอเมริกาอย่าง ฟอร์ด เชฟโลเลต ถึงประกาศว่า สามารถนำเข้ารถ E85 มาขายได้ภายในระยะเวลา 2-3 เดือน เพราะในสหรัฐ มีการจำหน่าย E85 มาแล้วกว่า 10 ปี
  E100 คือเอทิลแอลกอฮอล 100% ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นใช้สำเร็จในประเทศบราซิล เพราะในอดีตบราซิลต้องประสบปัญหาวิกฤตการพลังงานและปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรล้นตลาด รัฐบาลประเทศบราซิลจึงได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาพลังงานทดแทนจากพืชผลทางการเกษตรที่ราคากำลังตกต่ำ
ทำไมประเทศบราซิลถึงทำสำเร็จ...?
  เพราะรัฐบาลมีการกำหนดนโยบายด้านพลังงานทดแทนอย่างเป็นรูปธรรม แน่ชัดว่า ในกี่ปีจะมีการพัฒนาน้ำมัน E เท่าไหร่ออกมาใช้ เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล ก็ยังมีการสนับสนุนนโยบายดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้บราซิลเป็นประเทศอันดับแรกๆ ที่ประสบความสำเร็จ นโยบายระดับชาติแบบนี้ไม่ใช่จะใช้เวลาแค่เดือนสองเดือน ปีสองปีก็จะทำกันสำเร็จ จะต้องให้เวลาทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตทั้งรถทั้งน้ำมันได้ปรับตัว
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ควรจะจริงจังจริงใจกับวิกฤตพลังงานของประเทศไทย...?

Saturday 9 January 2016

Chemistry 20

อุตสาหกรรมการผลิตแอลกอฮอล์ที่สำคัญ
๑.  เมทิลแอลกอฮอล์หรือ Wood alcohol 
สมัยก่อนเป็นผลผลิตที่ได้จาก การกลั่นไม้เนื้อแข็งบางชนิด แต่ในปัจจุบันผลิตโดยการสังเคราะห์จากปฏิกิริยาของก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซค์กับไฮโดรเจน
๒.  เอทธิลแอลกอฮอล์ 
การผลิตแอลกอฮอล์ชนิดนี้ ส่วนมากผลิตโดยวิธีหมัก (Fermentation) จากวัสดุประเภทแป้งและน้ำตาล

การผลิตเมทิลแอลกอฮอล์
๑. การกลั่นไม้ (Distillation of hardwood) โดยทำ Carbonization แล้วกลั่นของผสมที่เกิดขึ้น โดยวิธีนี้จะได้ผลิตภัณฑ์ผสมได้แก่ กรดไพโรลิกนัส ทาร์ น้ำมันดิน เมทานอล อะซีโตน และอื่น ๆ 
๒. การสังเคาะห์ที่ความดันสูง (High pressure organic synthesis) เป็นปฏิกิริยาสังเคราะห์เมทานอล จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับไฮโดรเจน ที่ความดันสูง โดยมีเงินหรือทองแดงเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ร่วมกับออกไซด์ของสังกะสี โครเมียม แมงกานีสหรืออลูมินัมดังนี้
ข้อควรระวังคือ ปฏิกิริยาสังเคราะห์เมทานอลนี้จะต้องไม่สัมผัสกับเหล็ก ดังนั้นปฏิกรณ์และอุปกรณ์ที่ใช้ต้องคาดด้วยทองแดงที่อุณหภูมิ ๓๐๐ ํ ซ. และความดัน ๔๕๐๐ psi จะได้ผลผลิตประมาณ ๖๐ % ผลผลิตที่เป็นก๊าซจะถูกป้อนเข้าเครื่องควบแน่น ที่ความดัน ๓๕๐๐ - ๔๐๐๐ psi เมทธานอลจะควบแน่นเป็นของเหลว

การผลิตเอทธิลแอลกอฮอล์
เอทธานอลเป็นแอลกฮอล์ ที่ถูกเปลี่ยนมาจากแป้งหรือน้ำตาล โดยกระบวนการของยีสต์ เมื่อการหมักดำเนินไปได้พอสมควร (ปริมาณแอลกอฮอล์มีมากพอ) ก็นำไปกลั่นจะได้แอลกอฮอล์ที่มีความเข้มขันประมาณ๙๕% หากต้องการให้แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ (absolute alcohol) ต้องมีกระบวนการขั้นต่อไป ซึ่งจะได้แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ๙๙.๙๙ % 
กรรมวิธีการผลิตแอลกอฮอล์ ๙๕ % 
๑. ขั้นตอนการหมัก (Fermentation) 
๒.  ขั้นตอนการกลั่น (Distillation)

การทำแอลกอฮอล์ให้บริสุทธิ์ (Puriflcation)
เป็นการทำ Anhydrous หรือ Absolute Alcohol มีวิธีการดังนี้
๑. แยกเอาน้ำออกจากแอลกอฮอล์ โดยการกลั่นกับองค์ประกอบที่สาม (Azeotropic Mixture; to formazeotropic point)
วิธีนี้ เป็นการลดจุดเดือดของของผสมให้ต่ำที่สุด การเดือดจะเกิดขึ้นที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดของแอลกอฮอล์หรือน้ำ ทำให้ของผสมกลายเป็นไอ และพาน้ำระเหยออกไปด้วย แอลกอฮอล์ที่ปราศจากน้ำจะเหลืออยู่ที่ส่วนล่างของหอกลั่น
๒. แยกเอาน้ำออกจากแอลกอฮอล์ โดยวิธีการสกัด (Coutercurrent Extraction)
วิธีนี้ สารที่เป็นองค์ประกอบที่สามจะทำหน้าที่ลดความดันไอของน้ำให้ต่ำลงมากกว่าที่จะลดความดันไอของแอลกอฮอล์ สารดังกล่าวนี้ได้แก่ กลีเซอรอล เอทธิลีนไกลคอล การสกัดแอลกอฮอล์ ๙๕% ด้วยกลีเซอรอลหรือไกลคอลที่มีเกลือละลายอยู่ และผสมกับโซเดียมและโปแตสเซียมอะซีเตทที่หลอมเหลว จะได้แอลกฮอล์ที่ปราศจากน้ำ ที่ส่วนบนของหอสกัด

๓. แยกเอาน้ำออกจากแอลกอฮอล์ โดยการดูดน้ำโดยตรง (Quicklime Process)
วิธีการนี้ เป็นวิธีเก่าและมีความสิ้นเปลืองมาก สารที่ใช้ดูดน้ำได้แก่ Anhydrous Calsium Sulphate) วิธีการ มีลักษณะคล้ายกับวิธีที่สอง หากต่างกันตรงที่ไม่เป็นวิธีต่อเนื่อง (Discontinuous Extraction)


ที่มา: งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงสวนจิตรลดา

Chemistry 19

ธาตุสังเคราะห์ คือ ธาตุที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นในห้องทดลอง ไม่พบอยู่ตามธรรมชาติ และไม่เสถียร มีครึ่งชีวิตที่สั้น (เป็นไปได้ตั้งแต่ ไม่กี่มิลลิวินาที จนถึงหลักล้านปี ก็มี) เมื่อเทียบกับอายุของโลก ที่อะตอมของธาตุนั้น ๆ อาจเคยปรากฏขณะเกิดโลกแล้วสลายไปจนหมด
ธาตุที่สังเคราะห์ขึ้นได้ชนิดแรกคือ เทคนีเชียม(technetium) โดยค้นพบว่า ไม่มีไอโซโทปใดที่เสถียร และมีครึ่งชีวิตเท่ากับ 4.2 ล้านปี จึงพบได้ยากมากบนโลกปัจจุบัน เพราะอายุของโลกนานมากกว่า 4,600 ล้านปี อย่างไรก็ตาม ไม่จัดเทคนีเชียมเป็นธาตุสังเคราะห์ที่แท้จริง เพราะปัจจุบันตรวจพบได้บ้างแม้เป็นปริมาณที่น้อยมาก เช่น ในหินอุกกาบาต และยังถือว่ามีอายุนานกว่าธาตุสังเคราะห์อื่น
ธาตุที่จัดเป็นธาตุสังเคราะห์นั้นมีอายุสั้นมาก พบเฉพาะที่เป็นผลิตผลจาก เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (nuclear reactors) หรือ เครื่องเร่งอนุภาค (particle accelerator) เท่านั้น

Friday 1 January 2016

Chemistry 18


Discovery and Assignment of Elements with Atomic Numbers 113, 115, 117 and 118

IUPAC announces the verification of the discoveries of four new chemical elements: The 7th period of the periodic table of elements is complete.


The fourth IUPAC/IUPAP Joint Working Party (JWP) on the priority of claims to the discovery of new elements has reviewed the relevant literature for elements 113, 115, 117, and 118 and has determined that the claims for discovery of these elements have been fulfilled, in accordance with the criteria for the discovery of elements of the IUPAP/IUPAC Transfermium Working Group (TWG) 1991 discovery criteria. These elements complete the 7th row of the periodic table of the elements, and the discoverers from Japan, Russia and the USA will now be invited to suggest permanent names and symbols. The new elements and assigned priorities of discovery are as follows:
Element 113 (temporary working name and symbol: ununtrium, Uut)
The RIKEN collaboration team in Japan have fulfilled the criteria for element Z=113 and will be invited to propose a permanent name and symbol.
Elements 115, 117, and 118 (temporary working names and symbols: ununpentium, Uup; ununseptium, Uus; and ununoctium, Uuo)
The collaboration between the Joint Institute for Nuclear Research in Dubna, Russia; Lawrence Livermore National Laboratory, California, USA; and Oak Ridge National Laboratory, Oak Ridge, Tennessee, USA have fulfilled the criteria for element Z=115, 117 and will be invited to propose permanent names and symbols.
The collaboration between the Joint Institute for Nuclear Research in Dubna, Russia and Lawrence Livermore National Laboratory, California, USA have fulfilled the criteria for element Z=118 and will be invited to propose a permanent name and symbol.
The priorities for four new chemical elements are being introduced simultaneously, after the careful verification of the discoveries and priorities. The decisions are detailed in two reports by the Joint Working Party (JWP), which includes experts drawn from IUPAC and IUPAP (the International Union of Pure and Applied Physics). These reports will be published in an early 2016 issue of the IUPAC journal Pure and Applied Chemistry (PAC).The JWP has reviewed the relevant literature pertaining to several claims of these new elements. The JWP has determined that the RIKEN collaboration have fulfilled the criteria for the discovery of element with atomic numbers Z=113. Several studies published from 2004 to 2012 have been construed as sufficient to ratify the discovery and priority.
In the same PAC report, the JWP also concluded that the collaborative work between scientists from the Joint Institute for Nuclear Research in Dubna, Russia; from Lawrence Livermore National Laboratory, California, USA; and from Oak Ridge National Laboratory, Oak Ridge, Tennessee, USA (the Dubna-Livermore-Oak Ridge collaborations), starting in 2010, and subsequently confirmed in 2012 and 2013, have met the criteria for discovery of the elements with atomic numbers Z=115 and Z=117.
Finally, in a separate PAC article the Dubna�Livermore collaboration started in 2006 is reported as having satisfied the criteria for discovery of element Z=118.
"A particular difficulty in establishing these new elements is that they decay into hitherto unknown isotopes of slightly lighter elements that also need to be unequivocally identified� commented JWP chair Professor Paul J. Karol, �but in the future we hope to improve methods that can directly measure the atomic number, Z".
"The chemistry community is eager to see its most cherished table finally being completed down to the seventh row. IUPAC has now initiated the process of formalizing names and symbols for these elements temporarily named as ununtrium, (Uut or element 113), ununpentium (Uup, element 115), ununseptium (Uus, element 117), and ununoctium  (Uuo, element 118)" said Professor Jan Reedijk, President of the Inorganic Chemistry Division of IUPAC.
The proposed names and symbols will be checked by the Inorganic Chemistry Division of IUPAC for consistency, translatability into other languages, possible prior historic use for other cases, etc. New elements can be named after a mythological concept, a mineral, a place or country, a property or a scientist (see: W.H. Koppenol, PAC 74 (2002) 787-791). After Divisional acceptance, the names and two-letter symbols will be presented for public review for five months, before the highest body of IUPAC, the Council, will make a final decision on the names of these new chemical elements and their two-letter symbols and their introduction into the Periodic Table of the Elements.
"As the global organization that provides objective scientific expertise and develops the essential tools for the application and communication of chemical knowledge for the benefit of humankind, the International Union of Pure and Applied Chemistry is pleased and honored to make this announcement concerning elements 113, 115, 117, and 118 and the completion of the seventh row of the periodic table of the elements," said IUPAC President Dr. Mark C. Cesa, adding that, "we are excited about these new elements, and we thank the dedicated scientists who discovered them for their painstaking work, as well the members of the IUPAC/IUPAP Joint Working Party for completing their essential and critically important task."

Monday 21 December 2015

Chemistry 17


พิษของพารา...ใครว่าธรรมดา

ภญ.อัมพร จันทรอาภรณ์กุล



พาราเซตามอล (paracetamol) หรือ อะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) เป็นยาบรรเทาอาการปวด (analgesics) ไม่มีผลข้างเคียงเรื่องการระคายเคืองผนังกระเพาะอาหาร และการแข็งตัวของเลือดเหมือนยากลุ่มเอ็นเซด (non-steroidal anti-inflammatory; NSAIDs) เช่น ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) หากใช้ในขนาดการรักษาปกติ ทำให้ประชาชนทั่วไปไม่ค่อยรู้พิษสงของยานี้เท่าไหร่ นอกจากนี้ยังสามารถหาซื้อได้ง่ายโดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ เป็นเหตุให้ปริมาณการใช้ยาตัวนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พาราเซตามอลกลายเป็นยาประจำบ้านที่ขายดิบขายดี เป็นอะไรก็กินแต่พาราเซตามอล ปวดศีรษะ ไข้หวัด ก็พาราเซตามอล ปวดหลัง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ก็พาราเซตามอล ยิ่งกว่านั้นบางรายปวดท้อง เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ก็กินพาราเซตามอล ซึ่งพาราเซตามอลก็คงไม่ได้ช่วยอะไร ทำได้แค่ให้สบายใจขึ้นเพราะได้กินยาแล้ว บ้างก็มัวแต่ผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่ยอมไปหาหมอรักษากัน พลอยทำให้โรคที่เป็นลุกลามมากขึ้น ต้องเสียเงินรักษามากขึ้นโดยใช่เหตุ

ในหลายประเทศได้แก่ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ได้มีการสำรวจวิจัยพบว่ามีการใช้ ยาพาราเซตาอลเกินขนาดมากขึ้นทุกปี และมีผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากการเกิดพิษของพาราเซตามอลจำนวนมากจนน่าตกใจจนต้องออกมารณรงค์ให้ใช้ยาพาราเซตามอลเฉพาะเมื่อมีความจำเป็น และเผยแพร่ความรู้เรื่องพิษของยาให้ประชาชนตระหนักมากยิ่งขึ้นผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ วิทยุ ใบปลิว เอกสารกำกับยา หรืออินเตอร์เน็ต

อันตรายจากการใช้ยาพาราเซตามอลที่พบได้มากที่สุด คือ พิษต่อตับ ทำให้ตับวาย รองมาเป็นเรื่องของการเกิดปฏิกิริยากับยาอื่น หรือตีกับยาอื่นนั้นเอง ซึ่งเกิดขึ้นจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจ

• ที่เกิดจากความตั้งใจ ทุกคนคงทราบกันดี นั่นคือ การกินพาราเซตามอลประชดชีวิต การฆ่าตัวตาย ซึ่งบางรายก็แค่ต้องการประท้วง เรียกร้องความสนใจ นึกว่าพิษของพาราเซตามอลเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้นเพราะพาราเซตามอลจะทำให้ตับเสียการทำงานหรือตับวายได้ ซึ่งหากได้รับยาต้านพิษไม่ทันเวลาก็จะทำให้เสียชิวิตได้

• ที่เกิดจากความไม่ตั้งใจ เนื่องจากพาราเซตามอลที่ผลิตออกจำหน่ายในปัจจุบันนั้นมีหลายรูปแบบ หลายความแรง หลายยี่ห้อซึ่งเป็นการยากที่ประชาชนทั่วไปจะทราบ ได้แก่ รูปของยาเม็ด ยาน้ำเชื่อม และการนำพาราเซตามอลไปผสมกับยาอื่นๆ ได้แก่ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้หวัด ยาแก้ปวด เป็นต้น ทำให้เกิดการกินยาซ้ำซ้อนโดยไม่รู้ตัว หากเป็นระยะเวลาไม่นานแค่ 2 ถึง 3 วันก็ยังพอไหว หากระยะเวลานานเป็นเดือนการเกิดพิษต่อตับคงเกิดอย่างแน่นอน ดังนั้นทางที่ดี ก่อนกินยาอะไรควรอ่านฉลากยาให้ละเอียดเสียก่อน และหากไม่แน่ใจว่าเป็นยาอะไร เป็นยาสูตรผสมหรือไม่ ก็ควรปรึกษาเภสัชกร หรือแพทย์ก่อนทุกครั้ง

เรื่องที่น่าคิดอีกเรื่อง คือ การกินพาราเซตามอลร่วมกับเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า ไวน์ รัม ยีน หรือ เบียร์ เพราะตัวแอลกอฮอล์เองเป็นที่ทราบกันดีว่าหากได้รับในปริมาณมาก หรือต่อเนื่องกันนานๆ ก็ทำให้เกิดภาวะตับแข็ง ตับวายได้ หากกินร่วมกับพาราเซตามอลก็จะเท่ากับเป็นการเหยียบคันเร่งให้ตับพังได้เร็วยิ่งขึ้น คณะกรรมการอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายให้มีการพิมพ์คำเตือนบนฉลากยาพาราเซตามอลว่า “ห้ามรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์”เนื่องจากเกิดคดีพิพากษาเกี่ยวกับการกินยาพาราเซตามอลร่วมกับไวน์เป็นประจำของชาวเวอร์จิเนียรายหนึ่งจนทำให้ตับวาย จนต้องมีการปลูกถ่ายตับใหม่ บริษัทผู้ผลิตยาแพ้คดีต้องจ่ายเงินชดใช้ถึง 8 ล้านดอลลาร์ 

เรื่องสุดท้ายที่อยากจะเตือนคุณผู้อ่านก็คือ เรื่องของยาตีกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้จริง แต่เดิมไม่เคยมีใครคิดถึงเรื่องนี้เลย คิดว่าพาราเซตามอลเป็นยาสามัญประจำบ้าน ไม่มีพิษสงอะไร ไม่ตีกับยาอื่น แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้วเนื่องจากระยะหลังนักวิจัยได้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เพราะคนใช้ยาพาราเซตามอลมากขึ้น ยังกับพาราเซตามอลเป็นขนมอย่างนั้นแหละ ตัวอย่างหนึ่งที่ดิฉันพบเองก็คือ พาราเซตามอลตีกับยาต้านการแข็งตัวของเลือดตัวหนึ่งในผู้ที่เป็นเลือดข้น กล่าวคือพาราเซตามอลทำให้เลือดแข็งตัวช้าลงได้หากได้รับในปริมาณมาก อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเท่ากับไปเสริมฤทธิ์ของยาต้านการแข็งตัวของเลือดจนทำให้ผู้นั้นเกิดเลือดออกผิดปกติขึ้น 

ทางที่ดีคุณควรใช้ยาพาราเซตามอลเท่าที่จำเป็นในขนาดการรักษาปกติ คือ ยาพาราเซตามอล 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (เช่น น้ำหนัก 50 กิโลกรัม ก็กินแค่ยาเม็ดขนาด 500 มิลลิกรัม 1 เม็ด ก็เพียงพอ) และหากไม่มีอาการแล้วก็ควรหยุดกินยาทันที หรือหากใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลาประมาณ 3-4 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยเพิ่มเติมจะดีกว่าเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง 



จากหนังสือ Health today ฉบับเดือนสิงหาคม 2549