Wednesday, 19 August 2015

Chemistry 13


เกลือ Salt

เกลือเป็นสารประกอบไอออนิก ประกอบด้วยไอออนบวก (แคตไอออน) และไอออนลบ (แอนไอออน) ยกเว้น OHตัวอย่างเช่น NaCl ประกอบด้วยโซเดียมไอออน (Na+) และคลอไรด์ไอออน (Cl-) แบเรียมซัลเฟต (BaSO4) ประกอบด้วยแบเรียมไอออน (Ba2+) และซัลเฟตไอออน (SO42-) เกลือ NaCl ละลายในน้ำได้ดีและให้ Na+ และ Cl- แต่เกลือ BaSO4 เป็นเกลือที่ไม่ละลายน้ำ ทำให้สารละลายของเกลือ NaCl นำไฟฟ้าได้ดี แต่สารละลายของเกลือ BaSO4 ไม่นำไฟฟ้า 

เราอาจจำแนกเกลือออกได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

1.เกลือปกติ (Normal salt)

เกลือปกติเป็นเกลือที่ไม่มีไฮโดรเจนหรือไฮดรอกไซด์ไอออนที่อาจถูกแทนที่ ดังนั้น จึงประกอบด้วยไอออนบวกคือโลหะ หรือกลุ่มธาตุที่เทียบเท่าโลหะ เช่น NH4+ (แอมโมเนียมไอออน) กับไอออนลบซึ่งเป็นอนุมูลกรด (Acid radical) ตัวอย่างของเกลือปกติ เช่น NaCl, K2SO4 , Ca3(PO4)2 , NH4NO3 , (NH4)2SO, ZnSO4 เป็นต้น

2.เกลือกรด (Acid salt)

เกลือประเภทนี้มี H อะตอมอยู่ในโมเลกุลของเกลือ ซึ่งสามารถไอออไนซ์ได้ (แตกตัวเป็นไอออนได้) เช่น NaHSO4 , NaHCO3 , Na2HPO4 , NaH2PO4 เป็นต้น

3.เกลือเบสิก (Base salt)

เกลือประเภทนี้มีไอออนลบ OH- และไอออนบวก เช่น Pb(OH)Cl, Bi(OH)2Cl เป็นต้น

4.เกลือสองเชิง (Double salt) 

เกิดจากเกลือปกติสองชนิดรวมกันเป็นโมเลกุลใหญ่ เช่น K2SO4 , Al(SO4)3.24H2O เป็นต้น

5.เกลือเชิงซ้อน (Complex salt)

ประกอบด้วยไอออนลบที่ไอออนเชิงซ้อน เช่น K3Fe(CN)6 เป็นต้น 

การเรียกชื่อเกลือ

1.ให้อ่านโลหะแล้วตามด้วยอนุมูลกรด เช่น
NaCl = โซเดียมคลอไรด์
KI = โพแทสเซียมไอโอไดด์
MgS = แมกนีเซียมซัลไฟด์
ถ้าอนุมูลกรดมาจากกรดที่ลงท้ายด้วย ous ต้องเปลี่ยนเป็น ite แต่ถ้าลงท้ายด้วย ic ต้องเปลี่ยนเป็น ate เช่น

Na2CO3 = โซเดียมคาร์บอเนต
Ca3(PO4)2 = แคลเซียมฟอสเฟต
K2SO4 = โพแทสเซียมซัลเฟต
Na2SO4 = โซเดียมซัลเฟต

2.ถ้าโลหะมีเลขออกซิเดชัน (ประจุไฟฟ้า) มากกว่า 1 ค่าให้บอกไว้ในวงเล็บหลังโลหะนั้น แล้วอ่านตามด้วยอนุมูลกรด เช่น
Fe(NO3)2 = ไอร์ออน (II) ไนเตรต
Fe(NO3)3 = ไอร์ออน (III) ไนเตรต
SnCl2 = ทิน (II) คลอไรด์
SnCl4 = ทิน (IV) คลอไรด์

วิธีการเตรียมเกลือ 

1.เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส

กรด + เบส  เกลือ + น้ำ
เช่น HCl (aq) + NaOH (aq)  NaCl (aq) + H2O (l)
H2SO4 (aq) + Ba(OH)2 (aq)  BaSO4 (s) + 2H2O (l)

“เกลือที่เกิดจากกรดและเบสทำปฏิกิริยากัน ไอออนบวกของเกลือจะมาจากเบส ส่วนไอออนลบของเกลือมาจากกรด”

เกลือที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส แบ่งออกได้เป็น

1.1 เกลือที่เกิดจากกรดแก่และเบสแก่ ตัวอย่างเช่น
- NaCl เกิดจากกรด HCl กับเบส NaOH,
HCl (aq) + NaOH (aq)  NaCl (aq) + H2O (l)
- Ca(NO3)2 เกิดจาก HNO3 และ Ca(OH)2
HNO3 (aq) + Ca(OH)2 (aq)  Ca(NO3)2(aq) + H2O (l)

1.2 เกลือที่เกิดจากกรดอ่อนกับเบสแก่ เช่น
- NaClO เกิดจาก HClO และ NaOH
HClO (aq) + NaOH (aq)  NaClO (aq) + H2O (l)
- Ba(C2H3O2)2 เกิดจาก C2H3O2H และ Ba(OH)2
C2H3O2H(aq) + Ba(OH)2(aq)  Ba(C2H3O2)2(aq) + H2O (l) 
1.3 เกลือที่เกิดจากกรดแก่กับเบสอ่อน เช่น
- NH4Cl เกิดจาก HCl กับ NH3
HCl (aq) + NH3 (g)  NH4Cl (aq) + H2O (l)
- Al(NO3)3 เกิดจาก HNO3 (aq) และ Al(OH)3 (aq)
HNO3 (aq) + Al(OH)3 (aq)  Al(NO3)3(aq) + H2O (l)
1.4 เกลือที่เกิดจากกรดอ่อนและเบสอ่อน เช่น
- NH4CN เกิดจากกรด HCN กับเบส NH3
HCN(aq) + NH3 (g)  NH4CN (aq) + H2O (l)
- FeCO3 เกิดจากกรด H2CO3 (aq) กับเบส Fe(OH)2 (aq)
H2CO3 (aq) + Fe(OH)2 (aq)  FeCO3(aq) + H2O (l)

2. เตรียมจากปฏิกิริยาของโลหะกับกรด

โลหะ + กรด  เกลือ + แก๊ส
โลหะ + กรด  เกลือ + น้ำ + แก๊ส
เช่น
Mg (s) + 2HCl (aq)  MgCl2 (aq) + H2 (g)
Zn(s) + H2SO4 (aq)  ZnSO4 (aq) + H2 (g)
3Cu(s) + 8HNO3 (aq)  3Cu(NO3)2 (aq) + H2O (l) + 2NO (g)

3. เตรียมจากปฏิกิริยาของโลหะออกไซด์กับกรด

โลหะออกไซด์ + กรด  เกลือ + น้ำ

เช่น CaO (s) + H2SO4 (aq)  CaSO4 (s) + H2O (l)
CuO (s) + H2SO4 (aq)  CuSO4 (s) + H2O (l)
MgO (s) + 2HCl (aq)  MgCl2 (aq) + H2O (l)

4. เตรียมจากปฏิกิริยาของเกลือกับกรด เช่น
FeS(s) + 2HCl (aq)  FeCl2 (aq) + H2S (g)
Na2CO3 (s) + H2SO4 (aq) Na2SO4 (aq) + H2CO3 (aq)
NaHCO3 (s) + HCl(aq) NaCl(aq) + H2O (l) + CO2 (g)
BaCO3 (s) + 2HCl (aq)  BaCl2 (aq) + H2O (l) + CO2 (g)

5.เตรียมจากปฏิกิริยาของเกลือกับเกลือ

NaCl (aq) + AgNO3 (aq)  AgCl(s) + NaNO3 (aq)
BaCl2 (aq) + Na2SO4 (aq)  BaSO4 (s) + 2NaCl (aq)
ZnCl2 (aq) + Na2S (aq)  ZnS (s) + 2NaCl (aq)

6.โดยการรวมตัวกันโดยตรงของโลหะกับอโลหะ

2Na(s) + Cl2 (g) 2NaCl (aq)
Fe (s) + S (s)  FeS

Wednesday, 12 August 2015

Chemistry 12


            สารละลายบัฟเฟอร์  
        หมายถึง  สารละลายที่มีความสามารถในการควบคุมระดับ pH เอาไว้ได้  เมื่อเติมสารละลายกรดหรือเบสจำนวนที่ไม่มากเกินไป  เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำบริสุทธิ์ที่เติมกรดหรือเบสจำนวนเท่ากัน  สารละลายที่มีสมบัติเป็นสารละลายบัฟเฟอร์จะควบคุมระดับ  pH  เอาไว้ได้ดีกว่าน้ำกลั่น  สารละลายบัฟเฟอร์เกิดจากการผสมระหว่างสารละลายกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อนนั้น  หรือสารละลายเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อนนั้น  แม้ว่าสารละลายบัฟเฟอร์จะควบคุมระดับ  pH  เอาไว้ได้ดีกว่าน้ำกลั่น  แต่ถ้าเติมกรดหรือเบสมากเกินไป  สารละลายบัฟเฟอร์ก็จะไม่สามารถควบคุมระดับ  pH  เอาไว้ได้ตลอด
ในที่สุดจะเสียสมบัติในการเป็นสารละลายบัฟเฟอร์ไป  เราเรียกความสามารถในการควบคุมระดับ  pH ของสารละลายบัฟเฟอร์ว่า  buffer capacity 
 สารละลายบัฟเฟอร์มี 2 ประเภท
         1)  บัฟเฟอร์กรด   (Acid buffer solution)      เกิดจากสารละลายของกรดอ่อนผสมกับสารละลายเกลือของกรดอ่อนชนิดนั้น  สารละลายบัฟเฟอร์ประเภทนี้มี   pH < 7    เช่น
              CH3COOH (กรดอ่อน)  +  CH3COONa (เกลือของกรดอ่อน)
              HCN (กรดอ่อน)   +  KCN (เกลือของกรดอ่อน)
              H2S(กรดอ่อน)    +  Na2S  (เกลือของกรดอ่อน)
              H2CO3(กรดอ่อน)    +  NaHCO3 (เกลือของกรดอ่อน)
         2)  บัฟเฟอร์เบส  (Basic buffer solution)  เกิดจากสารละลายของเบสอ่อนผสมกับสารละลายเกลือของเบสอ่อนนั้น  สารละลายบัฟเฟอร์แบบนี้ มี pH  >  7    เช่น
              NH3 (เบสอ่อน)  +  NH4Cl (เกลือของเบสอ่อน)
              NH3 (เบสอ่อน)    +  NH4NO(เกลือของเบสอ่อน)
              Fe(OH)2 (เบสอ่อน)    +  FeCl(เกลือของเบสอ่อน)
              Fe(OH)3 (เบสอ่อน)    +  FeCl3 (เกลือของเบสอ่อน)
 วิธีเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์
              1.  เตรียมโดยตรงจากการผสมสารละลายของกรดอ่อนกับสารละลายเกลือของกรดอ่อนนั้น  หรือผสมสารละลายของเบสอ่อนกับสารละลายเกลือของเบสอ่อนนั้น  ดังรูป
 
          2.  เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส
               2.1  บัฟเฟอร์กรด  เตรียมโดยใช้สารละลสยของกรดอ่อนที่มากเกินพอ ทำปฏิกิริยากับเบส (แก่หรืออ่อนก็ได้  แต่ต้องมีจำนวนน้อยกว่ากรดอ่อนจนถูกใช้หมด)  เช่น  
                                                                                    HF(aq)        +       NaOH(aq)    ↔    NaF(aq)  +  H2O(l) 
                                                                            (กรดอ่อนมากเกินพอ)       (หมด)       (เกลือของกรดอ่อนที่เกิดขึ้น)
                                                                                   (มีเหลือ)
                 ถ้าใช้ HF มากเกินพอจะมี  HF  เหลืออยู่  เมื่อเกิดปฏิกิริยาจนสมบูรณ์แล้ว  NaOH  จะหมดไป  ในระบบจะเป็นสารละลายผสมระหว่างHF  ส่วนที่เหลือ  กับ NaF  ที่เกิดขึ้น  
          จึงเป็นบัฟเฟอร์กรด  (กรดอ่อน+เกลือของกรดอ่อนนั้น)  ดังรูป

 
                        2.2   บัฟเฟอร์เบส  เตรียมโดยใช้สารละลายเบสอ่อนที่มากเกินพอ  ทำปฎิกิริยากับสารละลายกรดกรด  (แก่หรืออ่อนก็ได้  แต่ต้องมีจำนวนน้อยกว่าเบสอ่อนจนถูกใช้หมด)  เช่น 
                                                                                         HCl(aq)  +   NH4OH(aq)   →   NH4Cl(aq)  +    H2O(l)  
                                                                                        (หมด)       (มากเกินพอ)           (เกิดขึ้น)
                                                                                                           มีเหลือ
       เมื่อเกิดปฏิกิริยาสมบูรณ์แล้ว  HCl  จะหมดไปแต่ NH4OH ยังมีเหลือ ฉะนั้นในระบบจะเป็นสารละลายผสมระหว่าง NH4OH  สว่นที่เหลือ กับ  NH4Cl ที่เกิดขึ้น จึงเป็นสารละลายบัฟเฟอร์เบส  (เบสอ่อน + เกลือของเบสอ่อนนั้น) 
 การควบคุมค่า pH  ของสารละลายบัฟเฟอร์  
                ส่วนประกอบของสารละลายบัฟเฟอร์ จะแตกต่างจากสารละลายของกรดอ่อนหรือเบสอ่อน   คือ  ในสารละลายกรดอ่อนจะมีอนุภาคของกรดอ่อนละลายอยู่มาก  แต่อนุภาคของคู่เบสมีน้อย  เช่น   

                แต่เมื่อผสมสารละลายเกลือของ  CH3COOH  เช่น  CH3COONa  ซึ่งเป็นสารไอออนิกที่ละลายน้ำได้ดี  แตกตัวเป็นไอออนได้ทั้งหมด  จึงมี  CH3COO-  อยู่เป็นจำนวนมาก  ดังนี้

                เมื่อนำมาผสมกันจะมีสมบัติเป็นสารละลายบัฟเฟอร์  ให้สังเกตว่าในสารละลายจะมีกรดอ่อนและคูเบสของกรดอ่อนเป็นจำนวนมากทั้งคู่  ดังสมการ

             การที่ในสารละลายมี กรดอ่อนและคู่เบสของกรดอ่อนนั้นอยู่เป็นจำนวนมาก  ทำให้สามารถควบคุมระดับความเป็นกรด-เบสของสารละลายเอาไว้ได้จึงมีสมบัติเป็นสารละลายบัฟเฟอร์  เพราะ  ...
                -  เมื่อเติมกรด (H+) กรดหรือ  H+  ที่เติมลงไปก็จะรวมตัวกับ  CH3COO-  เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับเปลี่ยนให้อยู่ในรูป  CH3COOH ได้เกือบทั้งหมด  ทำให้ความเข้มข้น  H+  เพิ่มขึ้นน้อยกว่า
       จำนวนที่เติมลงไปจริง  pH  จึงแปลี่ยนแปลงน้อยกว่าปริมาณของ H+  ที่เติมลงไปจริง 
                                                                                   (คลิ้ก  ฃมการควบคุม  pH  ของสารละลายบัฟเฟอร์กรด)
                -   เมื่อเติมเบส (OH-) เบสหรือ  OH-  ที่เติมลงไปก็จะรวมตัวกับ  H+  เปลี่ยนให้มาอยู่ในรูป  H2O ทำให้  H+  ลดลงในตอนแรก  แต่ในเวลาเดียวกัน  CH3COOH  ซึ่งมีอยู่มาก
       (สังเกตทางซ้ายของสมการ)ก็จะเกิดการแตกตัวให้ H+ มาทดแทนได้เกือบทั้งหมด  ทำให้ปริมาณของ H+ จึงลดลงน้อยกว่าปริมาณของ OH-  ที่เติม  pH  จึงเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าปริมาณของ OH- 
       ที่เติมลงไปจริง  
                สำหรับสารละลายบัฟเฟอร์เบสก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกัน  คือเบสอ่อนแตกตัวได้น้อย  เช่น  การละลายของ  NH4OH  ดังสมการ  ;  

         แต่สำหรับเกลือของเบสชนิดนี้  เช่น  NH4Cl  จะละลายน้ำได้ดี  ดังสมการ

    เมื่อผสมสารละลายของเบสอ่อนกับสารละลายเกลือของเบสอ่อนเข้าด้วยกัน  ในสารละลายที่ได้จากการผสมก็จะมีมากทั้งตัวของเบสอ่อนลัคู่กรดของมัน  จึงมีสมบัติเป็นสารละลายบัฟเฟอร์  ดังสมการ   
              

Wednesday, 5 August 2015

Chemistry 11

pH   ของสารละลาย

ในสารละลายกรดหรือเบสจะมีทั้ง H3O+ และ OH  อยู่ในปริมาณที่แตกต่างกัน การบอกความเป็นกรด เป็นเบสของสารละลายโดยใช้ความ
เข้มข้นของ H3O+ หรือ OH  มักเกิดความผิดพลาดได้ง่ายเพราะสารละลายมักมีความเข้มข้นของ H3Oหรือ OH น้อย  ดังนั้นในปี ค.ศ. 1909 นักเคมีชาวสวีเดนชื่อ ซอเรสซัน (Sorensen)  ได้เสนอให้บอกความเป็นกรด-เบสของสารละลายในรูปมาตราส่วนpH  ย่อมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า  puissance d,hydrogine แปลว่า กำลังของไฮโดรเจน (power of hydrogen)  โดยกำหนดว่า
เมื่อความเข้มข้นของ   H3O  มีหน่วยเป็น  mol/dm3  หรือ  Molar
ในสารละลายที่เป็นกลาง   [H3O+]    =    [OH]  =    1.0 x 10-7 mol/dm3
ดังนั้น  หา  pH  ของสารละลายได้ดังนี้     pH                =  – log[H3O+]
=  – log 1.0 x 10-7
=  – (log 1.0 – 7log10)
=  0 + 7  = 7
นั่นคือสารละลายที่เป็นกลางมี    pH   =   7
   ค่า pH ที่ใช้ระบุความเป็นกรดหรือเบสของสารละลาย สรุปได้ดังนี้
สารละลายกรด มี [H3O+] มากกว่า 1.0 x 10-7 mol/dm3 ดังนั้น pH<7.00
สารละลายที่เป็นกลาง มี [H3O+] เท่ากับ 1.0 x 10-7 mol/dm3 ดังนั้น pH = 7.00
สารละลายเบส มี [H3O+] น้อยกว่า 1.0 x 10-7 mol/dm3 ดังนั้น pH>7.00
นอกจากนี้สามารถบอกความเป็นกรด-เบสของสารละลายในรูปความเข้มข้นของ OH  ก็ได้ โดยค่า pOHค่า pOH ใช้บอกความความเป็นกรด-
เบสของสารละลายเจือจางได้เช่นเดียวกับค่า pH ซึ่งค่า pOH จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของ OH โดยกำหนดความสัมพันธ์ดังนี้