Wednesday, 5 August 2015

Chemistry 11

pH   ของสารละลาย

ในสารละลายกรดหรือเบสจะมีทั้ง H3O+ และ OH  อยู่ในปริมาณที่แตกต่างกัน การบอกความเป็นกรด เป็นเบสของสารละลายโดยใช้ความ
เข้มข้นของ H3O+ หรือ OH  มักเกิดความผิดพลาดได้ง่ายเพราะสารละลายมักมีความเข้มข้นของ H3Oหรือ OH น้อย  ดังนั้นในปี ค.ศ. 1909 นักเคมีชาวสวีเดนชื่อ ซอเรสซัน (Sorensen)  ได้เสนอให้บอกความเป็นกรด-เบสของสารละลายในรูปมาตราส่วนpH  ย่อมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า  puissance d,hydrogine แปลว่า กำลังของไฮโดรเจน (power of hydrogen)  โดยกำหนดว่า
เมื่อความเข้มข้นของ   H3O  มีหน่วยเป็น  mol/dm3  หรือ  Molar
ในสารละลายที่เป็นกลาง   [H3O+]    =    [OH]  =    1.0 x 10-7 mol/dm3
ดังนั้น  หา  pH  ของสารละลายได้ดังนี้     pH                =  – log[H3O+]
=  – log 1.0 x 10-7
=  – (log 1.0 – 7log10)
=  0 + 7  = 7
นั่นคือสารละลายที่เป็นกลางมี    pH   =   7
   ค่า pH ที่ใช้ระบุความเป็นกรดหรือเบสของสารละลาย สรุปได้ดังนี้
สารละลายกรด มี [H3O+] มากกว่า 1.0 x 10-7 mol/dm3 ดังนั้น pH<7.00
สารละลายที่เป็นกลาง มี [H3O+] เท่ากับ 1.0 x 10-7 mol/dm3 ดังนั้น pH = 7.00
สารละลายเบส มี [H3O+] น้อยกว่า 1.0 x 10-7 mol/dm3 ดังนั้น pH>7.00
นอกจากนี้สามารถบอกความเป็นกรด-เบสของสารละลายในรูปความเข้มข้นของ OH  ก็ได้ โดยค่า pOHค่า pOH ใช้บอกความความเป็นกรด-
เบสของสารละลายเจือจางได้เช่นเดียวกับค่า pH ซึ่งค่า pOH จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของ OH โดยกำหนดความสัมพันธ์ดังนี้     

No comments:

Post a Comment