อันดับของปฏิกิริยา คือผลบวกของเลขชี้กำลังของความเข้มข้นของสารตั้งต้นในกฎอัตรา เช่น
ถ้า n = 1 และ m = 1 รวมกันเป็น 2 เรียกว่า ปฏิกิริยาอันดับที่สอง (Second Order of Reaction)
เขียนกฎอัตราได้เป็น r = k[A]^1[B]^1
ถ้า n = 2 และ m = 1 รวมกันเป็น 3 เรียกว่า ปฏิกิริยาอันดับที่สาม (Third Order of Reaction)
เขียนกฎอัตราได้เป็น r = k[A]^2[B]^1
ถ้า n = 0 และ m = 1 รวมกันเป็น 1 เรียกว่า ปฏิกิริยาอันดับที่หนึ่ง (First Order of Reaction)
เขียนกฎอัตราได้เป็น r = k[A]^0[B]^1 หรือ k[B]^1
สำหรับในกฎอัตราใดที่มีความเข้มข้นของสารตั้งต้นยกกำลังศูนย์ หมายความว่า การเปลี่ยนความเข้มข้นของสารตั้งต้น ไม่ว่าจะเพิ่มหรือลดลง ก็ไม่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีทั้งสิ้น
จากกฎอัตราข้างต้น ถ้า n = 0 และ m = 0 เรียกว่า ปฏิกิริยาอันดับศูนย์
เขียนกฎอัตราได้เป็น r = k[A]^0[B]^0 หรือ r = k
ตัวอย่างปฏิกิริยาอันดันศูนย์ เช่น ปฏิกิริยาการกำจัดแอลกอฮอล์จากกระแสเลือดในตับของคน
เมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่กระแสเลือด ร่างกายก็จะขับออกด้วยอัตราการสลายคงที่ ไม่ว่าปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจะมีความเข้มข้นมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม
พลังงานก่อกัมมันต์ (Activation energy)
พลังงานก่อกัมมันต์ (Activation energy : Ea) คือ พลังงานจำนวนน้อยที่สุดที่เกิดจากการชนกันของอนุภาคของสารตั้งต้นแล้วทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี ใช้หน่วยเป็น kJ/mol หรือ kcal/mol
ข้อสำคัญของพลังงานก่อกัมมันต์
1. ปฏิกิริยาเคมีต่างกัน พลังงานก่อกัมมันต์ต่างกัน
2. ปฏิกิริยาที่มีพลังงานก่อกัมมันต์ต่ำ ปฏิกิริยาจะเกิดง่ายหรือเร็วกว่า ปฏิกิริยาที่มีพลังงานก่อกัมมันต์สูง
3. พลังงานก่อกัมมันต์ไม่เกี่ยวข้องกับอัตราการเกิดปฏิกิริยา กล่าวคือ ปฏิกิริยาที่มีพลังงานก่อกัมมันต์ต่ำ ปฏิกิริยานั้นอาจจะมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเร็วหรือสูงก็ได้
4. พลังงานก่อกัมมันต์ไม่เกี่ยวข้องกับพลังงานของปฏิกิริยา
No comments:
Post a Comment