Monday 1 June 2015

Chemistry 2


แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
- ทฤษฎีการชน 
เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่า ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่ออนุภาคของสารตั้งต้นนั้นจะต้องมาชนกัน  และการชนนั้นจะต้องอาศัยการจัดตัวอย่างเหมาะสมและมีพลังงานมากพอจึงสามารถเกิดปฏิกิริยาได้ โดยพลังงานที่น้อยที่สุดที่ทำให้เกิดปฏกิริยาเคมีขึ้น เรียกว่า พลัีงงานก่อกัมมันต์ Ea- ทฤษฎีสารเชิงซ้อนที่ถูกกระุตุ้นอธิบายว่า อนุภาคสารเป็นกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนห่อหุ้มอยู่ เมื่อเคลื่อนที่เข้าหากันในระยะที่เหมาะสม จะถูกกระทบกระเทือน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพันธะเคมี เรียกว่า สารเชิงซ้อนที่ถูกกระตุ้น สารนี้จะไม่อยู่ตัวจนจะสลายตัวให้ผลิตภัณฑ์ หรือเป็นสารตั้งต้นดังเดิมก็ได้






กฏอัตรา

1. กฏอัตราสำหรับปฏิกิริยาหนึ่งหาได้จากการผลทดลอง
2. เลขชี้กำลังของความเข้มข้นของสารตั้งต้นในกฏอัตราบอกให้ทราบว่าการเปลี่ยนความเข้มข้นของสาร     ตั้งต้นนั้นมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยามากน้อยเพียงใด
    เช่น ถ้าปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ aA+bB ------} cC+dD
                                   
                                               กฏอัตรา  R=K[A]^n [B]^m

   ถ้า m และ n มีค่ามากกว่าศูนย์ แสดงว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของ A และ B เมื่อ    เพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้นใด อัตราการเกิดปฏิกิริยาก็เพิ่มตามและถ้าลดความเข้มข้นของสารตั้ง      ต้นใด อัตราการเกิดปฏิกิริยาก็ลดตามไปด้วย    
   ผลบวกของเลขชี้กำลังของความเข้มข้นของสารตั้งต้นในกฏอัตราเรียกว่า  อันดับของปฏิกิริยา
   (Order of Reaction) 

No comments:

Post a Comment